วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของการเมือง

         
          “การเมือง” (politic) มาจากคำภาษากรีก “polis” แปลว่า รัฐหรือชุมชนทางการเมืองมีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้หลากหลายต่างกันขึ้นอยู่กับทัศนะและความเข้าใจของนักวิชาการแต่ละคน
          เพลโต(Plato) นักปราชญ์กรีกให้ความหมายของการเมืองว่า เป็นกิจกรรมที่แสวงหาความยุติธรรมและเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีของสังคม
          อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ให้ความหมายไว้ว่า การเมืองหมายถึงการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์
          ฮาโรลด์ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ว่า การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจกรรมที่เรียกว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้คือ
1.               เกี่ยวข้องกับมหาชนมีผลกระทบกับคนจำนวนมาก
2.               เกี่ยวข้องกับรัฐ
3.               เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ
ขอบข่ายและธรรมชาติของการเมือง
โรเบิร์ต เอ เดาส (Robert A Dalh) ให้คำอธิบายถึงธรรมชาติของการเมืองไว้ดังนี้
ก.การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องสัมพันธ์กับเรื่องอื่น ๆ ในสังคม
ข.การเมืองเป็นกิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ในสังคมที่ไม่อาจหลีกหนีการเมืองได้
ค. การเมืองเป็นเรื่องของการปกครองกลุ่มอำนาจการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ

ความสำคัญของการเมืองมี 3 ประการคือ
1.               การเมืองเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งของมนุษย์ในรัฐ
2.               มนุษย์ภายในรัฐไม่อาจหลีกหนีให้พ้นจากผลกระทบทางการเมืองได้
3.               กิจกรรมทางการเมืองจะนำไปสู่การใช้อำนาจทางการเมือง การปกครองเพื่อออกกฎหมายพัฒนาประเทศรวมทั้งการแก้ปัญหาของประเทศ
  
ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจและสังคมไทย
          1.ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจ
การเมืองเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครอง และ
การใช้อำนาจและเศรษฐกิจเป็นเรื่องของการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
ให้แก่สาธารณชนเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขแก่ส่วนรวมนักเศรษฐศาสตร์ยอมรับว่าความเจริญทางเศรษฐกิจ
มีอิทธิพลต่อระบอบการเมืองของแต่ละสังคมเป็นอย่างยิ่งอริสโตเติลมีความเห็นว่า เสถียรภาพทางการเมือง
ขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจมากและได้เสนอรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือรูปแบบที่เรียกว่า
  “มัชฌิมวิถีอธิปไตยหรือ “Polity” คือ รูปแบบการปกครองที่มีชนชั้นกลางอยู่ในสังคมจำนวนมากเศรษฐกิจ
กับการเมืองเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกคือ ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจต่างก็มีอิทธิพลต่อกันดังนี้
                    1)เศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการเมือง ดังเช่นทัศนะของอริสโตเติลที่กล่าวถึงสภาวะทางการเมือซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจดังกล่าวมาแล้ว
ในเรื่องของมัชฌิมวิถีอธิปไตย(Polity)
                    2)การเมืองมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจคือนโยบายทางการเมืองย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจดังจะเห็นได้จากแนวนโยบายหรืออุดมการณ์ของผู้ที่มีอำนาจปกครองนำมาใช้อยู่ 2 แนวทางกว้างๆ คือแนวแรก ได้แก่
การปล่อยเสรี” (Laissez-faire) กับแนวที่สอง คืออยู่ใต้การควบคุมดูแลโดยรัฐ
          2.การเมืองกับสังคม

          มนุษย์เป็นสมาชิกของสังคมกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ของมนุษย์ การรวมกลุ่มของมนุษย์ทั้งหมดถือเป็นกิจกรรมทางสังคมและถือเป็นหลักธรรมดาที่ในสังคมมนุษย์จะต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นเพราะการฉกฉวยแย่งชิงสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แต่ในทัศนะตรงกันข้ามการเมืองไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งเพียง
อย่างเดียวแต่อาจจะเป็นไปในรูปของความร่วมมือสมานฉันท์สร้างสรรค์สังคมกันไว้ได้กล่าวคือประชาชน
กลุ่มหนึ่งอาจจะทำความตกลงในเป้าหมายหมายร่วมกันในสังคมและร่วมกันดำเนินการเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายนั้นด้วยดีการเมืองมีความสัมพันธ์กันกับการควบคุมและการระงับความขัดแย้ง
ภายในสังคมการกำหนดเป้าหมายร่วมกันและการดำเนินการต่าง ๆร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนรวมหรือที่
เรียกว่ากิจกรรมสาธารณะ” (Public Affair)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น