วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รัฐ ชาติ และประเทศ

ความหมายของรัฐ ชาติประเทศ
              “รัฐ” หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอนมีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมโดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
              “ชาติหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรมและมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรมตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกันหรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่าชาติไทย
              “ประเทศความหมายกว้างหมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า “ประเทศ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ   แม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่นประเทศไทย
องค์ประกอบของรัฐ
        1.ประชากร (Population)หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ
               1)จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใดไม่มีการกำหนดที่แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
                    2)ลักษณะของประชากรหมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษาและวัฒนธรรม
               3)คุณภาพของประชากรขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ
         2.ดินแดน (Territory)มีข้อสังเกตดังนี้คือ
1)ที่ตั้งดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดินพื้นน้ำและพื้นทะเล
2)ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐแต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย
         3.รัฐบาล (Government)คือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐรัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
        4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยมีอยู่ ลักษณะคือ อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึงการที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใด ๆในประเทศอย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระมีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับ
ประเทศอื่นๆหรือกล่าวกันอีกอย่างหนี่งว่าเอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเององค์ประกอบของรัฐทั้ง ประการนี้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่งแม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง
จุดประสงค์ของรัฐ
     1.สร้างความเป็นระเบียบ
     2.การส่งเสริมสวัสดิภาพแก่ประชาชน
     3.การส่งเสริมสวัสดิการแก่ส่วนรวม
     4.การส่งเสริมคุณธรรม
หน้าที่ของรัฐ
หน้าที่ของรัฐแล้วมีอยู่ ประการ คือ
1.               การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
2.               การให้บริการและสวัสดิการทางสังคม
3.               การพัฒนาประเทศ
4.               การป้องกันการรุกรานจากภายนอก
รูปแบบของรัฐ (Forms of State)
               1.  รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว
รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง  3  อำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการรัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอดรวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศด้วยตัวอย่างรัฐเดี่ยวได้แก่อังกฤษญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น
               2.  รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ รัฐขึ้นไปโดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกันอาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น
รัฐรวมมีอยู่ ประเภทด้วยกันคือ
        1)สหพันธรัฐ (Federal State)สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันร่วมกันและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นๆ รูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น ระดับคือมีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า “มลรัฐ” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย
        2)สมาพันธรัฐ (Confederation State)สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกันระหว่าง รัฐขึ้นไปโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกันแต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้นเช่นการเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกันเป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของรัฐแบบสมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้วแต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้องค์การอาเซียน เป็นต้น

ระบอบการเมืองการปกครองที่สำคัญ
ระบอบประชาธิปไตย
        เป็นระบอบการปกครองที่มีหลักการและความมุ่งหมายที่ผูกพันอยู่กับประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2แบบคือแบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกับแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแบบแรกคือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่นและไทย
แบบที่ คือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอินเดีย ฝรั่งเศส และอเมริกา
หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยมีดังต่อไปนี้คือ
        1.อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรือเรียกว่าอำนาจของรัฐ (State Power) เป็นอำนาจหน้าที่มาจากประชาชนและผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
        2.ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเองโดยการออกเสียงเลือกตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ เช่น ทุก ปีจะมีการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ
        3.รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพมูลฐานของประชาชน เช่น สิทธิเสรีภาพในทรัพย์สินและการแสดงความคิดเห็นการรวมกลุ่ม เป็นต้นโดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นของชาติหรือเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นธรรมแก่สังคมเท่านั้น
        4.ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน
        5.รัฐบาลถือกฎหมาย และความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆเพื่อความสงบสุขของประชาชน
ระบอบเผด็จการ
        ระบอบเผด็จการคือระบอบการเมืองการปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตกลงใจถูกจำกัดอยู่ในบุคคลเพียงคนเดียวหรือสองสามคน กล่าวคือจะใช้โอกาสในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆโดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน หากประชาชนคัดค้านก็จะถูกผู้นำหรือคณะบุคคลลงโทษ

หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดังนี้
        1)ผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครองสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
        2)การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
        3)ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิตตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
        4)รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภาไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือรัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง

ระบอบเผด็จการมี แบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์และเผด็จการคอมมิวนิสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น