วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย

          ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คนไทยรวมตัวกันอยู่ในลักษณะนครรัฐ โดยยกตัวอย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถึงแม้ว่าจะมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่ก็ยังคงมีอำนาจภายในกลุ่มแคว้นต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ซึ่งหากกลุ่มอำนาจใดที่ครองอำนาจอยู่ในเมืองหลวงเพลี่ยงพล้ำให้แก่กลุ่มอื่น ๆ แล้วก็สามารถถูกชิงอำนาจไปได้เช่นกัน เช่น ราชวงศ์อู่ทองถูกแคว้นสุพรรณบุรีชิงอำนาจไปในสมัยขุนหลวงพะงั่วอย่างไรก็ตาม อาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จ โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบายต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้[6] จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์การปกครองของไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ในสมัยอยุธยาเป็นแบบเทวราชา ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธรรมราชาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธต่อการเมืองการปกครอง ซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นภัยคุกคามจากชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่นครรัฐของคนไทยไม่เคยประสบมาก่อนจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติ อันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทนซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงขึ้นเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในระยะนี้เองที่เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยต่อมาได้มี การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นพฤตการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" ในขณะที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นช้าเกินไป อันเป็นสาเหตุของ "วงจรอุบาทว์ เพราะเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอย่างมั่นคงในประเทศไทย อีกทั้งการปฏิวัติด้วยมือของคณะทหารก็ได้ทำให้การเมืองเป็นลูกไล่ของทหารและข้าราชการภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลังของชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าเขตชนบทจะให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจัดตั้งรัฐบาล แต่เสถียรภาพของรัฐบาลจะมาจากประชาชนในเขตเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น