วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนวทางแก้ไขในการพัฒนาประเทศ

                    การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทย ทุกภาคส่วนของสังคมควรผนึกกำลังร่วมกันในการขับเคลื่อน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของทุนทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ จำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกใหม่ของคนในสังคมให้มุ่งผลประโยชน์ส่วนรวม และปรับวิธีคิด ทัศนคติในการดำเนินชีวิตใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ขณะเดียวกันต้องประสานเชื่อมโยงบทบาทภาครัฐท้องถิ่นและชุมชนให้มีส่วนร่วมทำงานด้วยกันได้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่นความสมดุล  ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ ชุมชนสามารถบริหารจัดการใช้ประโยชน์จากทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่อย่างมีดุลยภาพสอดคล้องเชื่อมโยงกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน เพิ่มพูนความสัมพันธ์อันใกล้ชิดทางสังคมระหว่างผู้คนทั้งภายในและภายนอกชุมชน ทั้งนี้ การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของคนในชุมชนนอกจากจะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ยากและสลับซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความยากจนที่มีความเป็นองค์รวมเกี่ยวพันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อสามารถสะท้อนผลการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศได้
การแก้ปัญหาความอยากจนโดยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
                เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
                เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
                ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือแบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้ ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
                 อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะ
รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
                การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด 
แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่
                นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้น ครองสิริราชสมบัติ เมื่อ พุทธศักราช 2489 เป็นต้นมาพระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกร โดยเฉพาะประชาชนในชนบทและท้องถิ่นทุรกันดารทั่วราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอ พระองค์ได้ทรงประสบกับความทุกข์ยากของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะพสกนิกรที่เป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนเหล่านี้ล้วนแต่ประสบกับปัญหาในการประกอบอาชีพเนื่องจากอาชีพการเกษตรนั้นต้องพึ่งพาอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันได้แก่ดิน น้ำ ลมฟ้าอากาศ รวมทั้งศัตรูพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ   สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเมื่อก่อน
ดินเคยอุดมสมบูรณ์ปลูกพืชอะไรก็เจริญเติบโต  สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้  แต่ปัจจุบันดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ก็ระบาดรุนแรงมากขึ้น  ปลูกพืชอะไรถ้าหากไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ก็จะไม่ได้เก็บเกี่ยวผลิตผล ไม่เพียงแต่โรคและแมลงศัตรูพืชเท่านั้น ยังมีภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร  เช่นฝนแล้ง น้ำท่วม พายุ ลูกเห็บ เป็นต้น นอกจากนี้ การประกอบอาชีพทางการเกษตรนั้น ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น สภาวะเศรษฐกิจและการตลาดเป็นสำคัญ  ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจดี  ตลาดมีความต้องการสูง ราคาผลิตผลทางการเกษตรก็จะดีไปด้วย เกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ ก็จะขายผลิตผลได้ ในราคาสูง สามารถมีรายได้ เพียงพอ ต่อการครองชีพ ภายในครอบครัว แต่ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ไม่คุ้มกับต้นทุนที่ลงไป ประสบกับภาวะขาดทุน บางรายถึงกับล้มละลายไปก็มีไม่น้อยด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระองค์ทรงทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยากของพสกนิกรของพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยเน้นที่เกษตรกรยากจนในเขตน้ำฝน ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของเกษตรกรทั้งประเทศเกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 5-15 ไร่ แนวทางในการแก้ปัญหาก็คือ การจัดการแหล่งน้ำให้พอเพียงต่อการปลูกพืชในช่วงที่ไม่มีฝนเนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกพืชหากมีน้ำเพียงพอ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี มีงานทำและมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่นดังกระแสพระราชดำรัสความว่า "หลักสำคัญต้องมีน้ำบริโภคน้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกเพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" นอกจากการจัดการในเรื่องแหล่งน้ำแล้วการแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำรินี้ ิ ยังเน้นการจัดการระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ไว้บริโภคในครอบครัว และพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ไว้บริโภค ใช้สอย และจำหน่ายแนวทางการประกอบอาชีพการเกษตรแบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีงานทำ มีอาหารไว้บริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพอันจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคตแนวคิดในการแก้ปัญหาการประกอบอาชีพการเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จึงเรียก
ว่า"ทฤษฎีใหม่"
ประโยชน์และความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
                "เกษตรทฤษฎีใหม่"เป็นแนวทางหนึ่งซึ่ง เป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทย มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะทำให้ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยรวม มีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไปเนื่องจากการ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อเกษตรกรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุขถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ ประเทศชาติ มั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
                เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทย คือ กว่าร้อยละ 70 อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยมีระบบชลประทานทั้งประเทศประมาณร้อยละ 21 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้นหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือการขุดสระน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงที่มีฝนตกสำหรับเก็บไว้ใช้ในการเกษตรยามขาดแคลนซึ่งจะทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตน้ำฝนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลน นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถแก้ปัญหาหรือลดปัญหาความแห้งแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง

เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            จากหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชอย่างเหมาะสม  เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และปลูกพืชชนิดอื่นๆ  ได้แก่ พืชไร่  ไม้ผล  พืชผัก  สมุนไพร  และไม้ใช้สอย รวมทั้งมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และในบริเวณที่อยู่อาศัยนี้เอง  สามารถใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การจัดสรรพื้นที่แบบนี้จะทำให้พื้นที่ทุกส่วนได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่  สามารถใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปี  ผิดกับเมื่อก่อนที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกพืชชนิดเดียว  พื้นที่ก็ไม่ได้นำมาใช้เต็มที่  มีการใช้เฉพาะที่หรือบางฤดูกาลเท่านั้น

รัฐประหารและกบฏในประเทศไทย

           กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2455) โดย คณะ 130 นำโดย ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์)
           การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดย คณะราษฎร เพื่อให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
 รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
 กบฏบวรเดช 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
 กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 โดย สิบเอกสวัสดิ์ มะหะมัด เป็นหัวหน้า
 กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ พ.ศ. 2481 (29 มกราคม พ.ศ. 2482) มี พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นหัวหน้า
 รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
 รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
 กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล หรือ กบฏ 1 ตุลาคม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2491) โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้า
 กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดย นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า
 กบฏแมนฮัตตัน หรือ กบฏทหารเรือ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2494) โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา
 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
 รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
 รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
 กบฏ พ.ศ. 2507 โดย พลอากาศเอกนักรบ บิณศรี เป็นหัวหน้า
 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
 รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
 กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 (26 มีนาคม พ.ศ. 2520) โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า
 รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
 กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ. 2524) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า
 กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา (9 กันยายน พ.ศ. 2528) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า
 รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
 รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
การลุกฮือของประชาชน การต่อต้าน การชุมนุมทางการเมือง
          กบฏสันติภาพ พ.ศ. 2495 (ไม่มีผู้เสียชีวิต)
 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ "วันมหาวิปโยค" (มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก)
 เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 (มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 41 ศพ บาดเจ็บและสูญหายอีกจำนวนมาก)
 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน)
 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 (ผู้เสียชีวิต 8 ศพ บาดเจ็บ 381 คน)
 เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือ "สงกรานต์เลือด" (ผู้เสียชีวิต 2 ศพ บาดเจ็บ 120 คน)
 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 หรือ "พฤษภาอำมหิต" (ผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,100 คน)
การปกครองที่ผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง
           คำว่า  การเมือง  (Politics)  และคำว่า  การปกครอง  (Government)  มีความหมายในทางรัฐศาสตร์แตกต่างกัน  “การเมืองหมายถึง  เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันเพื่อหรือการแสวงหาอำนาจซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสังคม หรือภาพโดยส่วนใหญ่ของสังคม  ส่วน  “การปกครอง”  หมายถึง  เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการวางระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับสังคมเพื่อให้สังคมมีความปกติสุข การปกครองยังมีความหมายอย่างอื่นอีกเช่น  การปกครองได้แก่การปฏิบัติการทั้งหลายทั้งปวงของเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของรัฐโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้อยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบและมีผลประโยชน์จากการอยู่ในรัฐนั้นๆเช่น  การปฏิบัติ งานต่างๆ ของคณะรัฐมนตรี การออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ การที่ตำรวจจับผู้ร้าย แพทย์ประจำตำบลไปตรวจคนไข้  หรือครูพานักเรียนไปทัศนะศึกษานอกสถานที่  เหล่านี้ถือว่าเป็นการปกครองโดยทั้งสิ้นบางครั้งเราอาจเรียกสิ่งเดียวกันนี้ว่าการบริหาร  หรือรัฐบาล  ซึ่งหมายถึง คนหรือองค์กรต่างๆ ของรัฐบาลทั้งหมด  ตามปกติแล้วคนทั่วไปจะเข้าใจว่ารัฐบาล คือ ฝ่ายบริหารเท่านั้น  และการปกครองก็คือการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหารนั่นเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดและสับสนกับคำว่า คณะรัฐมนตรีซึ่งได้แก่ คณะบุคคลในระดับสูงของฝ่ายบริหารโดยประกอบด้วยหัวหน้าสูงสุดของกระทรวงต่างๆ กับนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ในภาษาอังกฤษการปกครองและรัฐบาลมักจะใช้คำๆเดียวกัน  คือ คำว่า Government  ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมาก  คำนี้รวมถึง การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร  ตุลาการและข้าราชการดังกล่าวทั้งหมด อย่างไรก็ดีการเมืองและการปกครองก็มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันเพราะการปกครองเป็นการบริหาร การวางระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อให้เกิดการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนนั้น  จำเป็นต้องอาศัยอำนาจ จึงจะทำให้การปกครองสามารถดำเนินงานได้  ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองจึงน่าจะหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับองค์กรต่างๆ ทางการเมืองที่มีและใช้อำนาจของรัฐ และรวมไปถึงการใช้กลไกของรัฐมาสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ในการบริหารเพื่อให้ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข  ดังนั้นรัฐหรือผู้ปกครองประเทศจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานด้านการปกครอง โดยมุ่นเน้นที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวมและในเรื่องการปกครอง มีอีกเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาควรให้ความสนใจคือเรื่องความเป็นพลเมือง เพราะการปกครองจะประกอบไปด้วยกลุ่มคนจำนวนสองกลุ่ม คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองกับผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองหรือประชาชนหรือพลเมืองนั่นเอง  เมื่อเรารู้ว่าใครทำหน้าที่ปกครองเราควรรู้ว่าตัวพลเมืองในฐานะเจ้าของประเทศคือใคร
                การปกครอง หมายถึง  การใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครอง หมายถึง การใช้Paperback Dictionary and Thesaurus 
การปกครอง หมายถึง ลักษณะท่าทางหรือระบบในการปกครองการปกครอง อาจหมายถึง องค์หรือคณะบุคคลและสถาบันที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสังคม
             การปกครอง หมายถึง กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่ได้รับการหนุนหลัง   โดยการใช้อำนาจที่มีผลบังคับใช้ อย่างเป็นทางการ  ซึ่งจะเป็นอำนาจที่ทำให้เกิดการจัดระเบียบเพื่อสร้างหลัก ประกันว่า การนำนโยบายที่มีอยู่มาปฏิบัติได้ผล

จากความหมายของคำว่า การปกครองดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอสรุปว่า การปกครอง หมายถึง  คณะบุคคล    หรือสถาบันใช้อำนาจอธิปไตยอันได้แก่ การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร  ตุลาการเพื่อทำกิจกรรมทางการเมืองบริหารและจัดการประเทศให้เกิดความปกติสุข

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย

          ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คนไทยรวมตัวกันอยู่ในลักษณะนครรัฐ โดยยกตัวอย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถึงแม้ว่าจะมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่ก็ยังคงมีอำนาจภายในกลุ่มแคว้นต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ซึ่งหากกลุ่มอำนาจใดที่ครองอำนาจอยู่ในเมืองหลวงเพลี่ยงพล้ำให้แก่กลุ่มอื่น ๆ แล้วก็สามารถถูกชิงอำนาจไปได้เช่นกัน เช่น ราชวงศ์อู่ทองถูกแคว้นสุพรรณบุรีชิงอำนาจไปในสมัยขุนหลวงพะงั่วอย่างไรก็ตาม อาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จ โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบายต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้[6] จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์การปกครองของไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ในสมัยอยุธยาเป็นแบบเทวราชา ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธรรมราชาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธต่อการเมืองการปกครอง ซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นภัยคุกคามจากชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่นครรัฐของคนไทยไม่เคยประสบมาก่อนจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติ อันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทนซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงขึ้นเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในระยะนี้เองที่เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยต่อมาได้มี การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นพฤตการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" ในขณะที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นช้าเกินไป อันเป็นสาเหตุของ "วงจรอุบาทว์ เพราะเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอย่างมั่นคงในประเทศไทย อีกทั้งการปฏิวัติด้วยมือของคณะทหารก็ได้ทำให้การเมืองเป็นลูกไล่ของทหารและข้าราชการภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลังของชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าเขตชนบทจะให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจัดตั้งรัฐบาล แต่เสถียรภาพของรัฐบาลจะมาจากประชาชนในเขตเมือง

การเมืองไทยในปัจจุบัน

          การเมืองไทยในปัจจุบัน อยู่ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากอีกสองฝ่ายที่เหลือฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยอยู่ในระบบสภาคู่ แบ่งออกเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายตุลาการ มีศาลเป็นองค์กรบริหารอำนาจ เป็นองค์กรที่มีอำนาจพิพากษาคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายไทย ส่วนใหญ่ ประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองอยู่ในระบบหลายพรรค กล่าวคือ ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องจัดตั้ง "รัฐบาลผสม" ปกครองประเทศตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังมีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยมีการก่อรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุดเล่า นับจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 18 ฉบับ (นับรวมฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังจากรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักจะยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว
ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์และเป็นประมุขฝ่ายบริหารเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฉบับเขียนได้มีการประกาศใช้ โดยคาดว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมีอิทธิพล จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประเทศถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กฎบัตรและรัฐธรรมนูญทั้งหมดของประเทศไทยได้ให้การรับรองว่าประเทศอยู่ภายใต้การปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมากในสมดุลของการแบ่งแยกอำนาจ รัฐบาลไทยส่วนใหญ่ปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูฐบางฉบับได้ถูกเรียกว่าเป็นเผด็จการ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2500 ประเทศไทยได้เคยใช้ทั้งระบบสภาเดี่ยวและสภาคู่ และสมาชิกรัฐสภามีทั้งแบบเลือกตั้งและแต่งตั้ง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเช่นกันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือที่เรียกกันว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ได้มีการประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นต้นเหตุของความยุ่งยากทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความโดดเด่นในด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ[1] เช่นเดียวกับความเป็นประชาธิปไตยในตัวกฎหมาย นอกจากนี้ยังบัญญัติให้สมาชิกของทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด สิทธิมนุษยชนจำนวนมากได้รับการรับรองตามกฎหมาย และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
          อย่างไรก็ตาม หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้ถูกยกเลิก คณะรัฐประหารได้ประกาศกฎอัยการศึกและรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นปกครองประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาให้คณะรัฐประหารมีอำนาจที่จะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ฝ่ายนิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มงวด การปะทะและการชุมนุมทางการเมืองได้เกิดขึ้นอยู่บ้าง และการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศทางการเมือง คณะรัฐประหารถูกบีบบังคับให้ยินยอมที่จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นและเทศบาลเป็นปกติ ในปี พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการประกาศใช้ แต่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาจากคณะรัฐประหารและเป็นเผด็จการอยู่มากรัฐบาลไทยมีบทบาทขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐชาติอันสถาปนาขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายหลังทรงผนวกดินแดนและอาณาจักรภายใต้ปกครองของอาณาจักรสยามขึ้นเป็นสยามประเทศแบ่งอำนาจออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการรัฐสภาไทยเป็นองค์กรบริหารอำนาจนิติบัญญัติ เป็นแบบระบบสองสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกรวมกัน 500 คน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน รวมกันไม่เกิน 36 คน ส่วนศาลไทยเป็นองค์กรบริหารอำนาจตุลาการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน(ไทย)
            พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasāsana พุทฺธสาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มี พระสงฆ์ หรือสังฆะแห่งพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัยศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม คือเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าและเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์ มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใดพระศาสดาพระองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของฝ่าย เถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธ แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ มหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง บ้างก็จัดว่า วัชรยาน เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่การจัดมากกว่านั้นก็มีหลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ
          ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก ประมาณ 700 ล้านคน[10][11][12] ด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล

ความหมายของการเมือง

         
          “การเมือง” (politic) มาจากคำภาษากรีก “polis” แปลว่า รัฐหรือชุมชนทางการเมืองมีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้หลากหลายต่างกันขึ้นอยู่กับทัศนะและความเข้าใจของนักวิชาการแต่ละคน
          เพลโต(Plato) นักปราชญ์กรีกให้ความหมายของการเมืองว่า เป็นกิจกรรมที่แสวงหาความยุติธรรมและเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีของสังคม
          อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ให้ความหมายไว้ว่า การเมืองหมายถึงการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์
          ฮาโรลด์ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ว่า การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจกรรมที่เรียกว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้คือ
1.               เกี่ยวข้องกับมหาชนมีผลกระทบกับคนจำนวนมาก
2.               เกี่ยวข้องกับรัฐ
3.               เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ
ขอบข่ายและธรรมชาติของการเมือง
โรเบิร์ต เอ เดาส (Robert A Dalh) ให้คำอธิบายถึงธรรมชาติของการเมืองไว้ดังนี้
ก.การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องสัมพันธ์กับเรื่องอื่น ๆ ในสังคม
ข.การเมืองเป็นกิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ในสังคมที่ไม่อาจหลีกหนีการเมืองได้
ค. การเมืองเป็นเรื่องของการปกครองกลุ่มอำนาจการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ

ความสำคัญของการเมืองมี 3 ประการคือ
1.               การเมืองเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งของมนุษย์ในรัฐ
2.               มนุษย์ภายในรัฐไม่อาจหลีกหนีให้พ้นจากผลกระทบทางการเมืองได้
3.               กิจกรรมทางการเมืองจะนำไปสู่การใช้อำนาจทางการเมือง การปกครองเพื่อออกกฎหมายพัฒนาประเทศรวมทั้งการแก้ปัญหาของประเทศ
  
ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจและสังคมไทย
          1.ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจ
การเมืองเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครอง และ
การใช้อำนาจและเศรษฐกิจเป็นเรื่องของการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
ให้แก่สาธารณชนเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขแก่ส่วนรวมนักเศรษฐศาสตร์ยอมรับว่าความเจริญทางเศรษฐกิจ
มีอิทธิพลต่อระบอบการเมืองของแต่ละสังคมเป็นอย่างยิ่งอริสโตเติลมีความเห็นว่า เสถียรภาพทางการเมือง
ขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจมากและได้เสนอรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือรูปแบบที่เรียกว่า
  “มัชฌิมวิถีอธิปไตยหรือ “Polity” คือ รูปแบบการปกครองที่มีชนชั้นกลางอยู่ในสังคมจำนวนมากเศรษฐกิจ
กับการเมืองเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกคือ ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจต่างก็มีอิทธิพลต่อกันดังนี้
                    1)เศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการเมือง ดังเช่นทัศนะของอริสโตเติลที่กล่าวถึงสภาวะทางการเมือซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจดังกล่าวมาแล้ว
ในเรื่องของมัชฌิมวิถีอธิปไตย(Polity)
                    2)การเมืองมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจคือนโยบายทางการเมืองย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจดังจะเห็นได้จากแนวนโยบายหรืออุดมการณ์ของผู้ที่มีอำนาจปกครองนำมาใช้อยู่ 2 แนวทางกว้างๆ คือแนวแรก ได้แก่
การปล่อยเสรี” (Laissez-faire) กับแนวที่สอง คืออยู่ใต้การควบคุมดูแลโดยรัฐ
          2.การเมืองกับสังคม

          มนุษย์เป็นสมาชิกของสังคมกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ของมนุษย์ การรวมกลุ่มของมนุษย์ทั้งหมดถือเป็นกิจกรรมทางสังคมและถือเป็นหลักธรรมดาที่ในสังคมมนุษย์จะต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นเพราะการฉกฉวยแย่งชิงสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แต่ในทัศนะตรงกันข้ามการเมืองไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งเพียง
อย่างเดียวแต่อาจจะเป็นไปในรูปของความร่วมมือสมานฉันท์สร้างสรรค์สังคมกันไว้ได้กล่าวคือประชาชน
กลุ่มหนึ่งอาจจะทำความตกลงในเป้าหมายหมายร่วมกันในสังคมและร่วมกันดำเนินการเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายนั้นด้วยดีการเมืองมีความสัมพันธ์กันกับการควบคุมและการระงับความขัดแย้ง
ภายในสังคมการกำหนดเป้าหมายร่วมกันและการดำเนินการต่าง ๆร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนรวมหรือที่
เรียกว่ากิจกรรมสาธารณะ” (Public Affair)

รัฐ ชาติ และประเทศ

ความหมายของรัฐ ชาติประเทศ
              “รัฐ” หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอนมีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมโดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
              “ชาติหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรมและมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรมตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกันหรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่าชาติไทย
              “ประเทศความหมายกว้างหมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า “ประเทศ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ   แม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่นประเทศไทย
องค์ประกอบของรัฐ
        1.ประชากร (Population)หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ
               1)จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใดไม่มีการกำหนดที่แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
                    2)ลักษณะของประชากรหมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษาและวัฒนธรรม
               3)คุณภาพของประชากรขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ
         2.ดินแดน (Territory)มีข้อสังเกตดังนี้คือ
1)ที่ตั้งดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดินพื้นน้ำและพื้นทะเล
2)ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐแต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย
         3.รัฐบาล (Government)คือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐรัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
        4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยมีอยู่ ลักษณะคือ อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึงการที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใด ๆในประเทศอย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระมีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับ
ประเทศอื่นๆหรือกล่าวกันอีกอย่างหนี่งว่าเอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเององค์ประกอบของรัฐทั้ง ประการนี้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่งแม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง
จุดประสงค์ของรัฐ
     1.สร้างความเป็นระเบียบ
     2.การส่งเสริมสวัสดิภาพแก่ประชาชน
     3.การส่งเสริมสวัสดิการแก่ส่วนรวม
     4.การส่งเสริมคุณธรรม
หน้าที่ของรัฐ
หน้าที่ของรัฐแล้วมีอยู่ ประการ คือ
1.               การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
2.               การให้บริการและสวัสดิการทางสังคม
3.               การพัฒนาประเทศ
4.               การป้องกันการรุกรานจากภายนอก
รูปแบบของรัฐ (Forms of State)
               1.  รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว
รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง  3  อำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการรัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอดรวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศด้วยตัวอย่างรัฐเดี่ยวได้แก่อังกฤษญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น
               2.  รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ รัฐขึ้นไปโดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกันอาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น
รัฐรวมมีอยู่ ประเภทด้วยกันคือ
        1)สหพันธรัฐ (Federal State)สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันร่วมกันและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นๆ รูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น ระดับคือมีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า “มลรัฐ” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย
        2)สมาพันธรัฐ (Confederation State)สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกันระหว่าง รัฐขึ้นไปโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกันแต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้นเช่นการเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกันเป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของรัฐแบบสมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้วแต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้องค์การอาเซียน เป็นต้น

ระบอบการเมืองการปกครองที่สำคัญ
ระบอบประชาธิปไตย
        เป็นระบอบการปกครองที่มีหลักการและความมุ่งหมายที่ผูกพันอยู่กับประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2แบบคือแบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกับแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแบบแรกคือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่นและไทย
แบบที่ คือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอินเดีย ฝรั่งเศส และอเมริกา
หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยมีดังต่อไปนี้คือ
        1.อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรือเรียกว่าอำนาจของรัฐ (State Power) เป็นอำนาจหน้าที่มาจากประชาชนและผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
        2.ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเองโดยการออกเสียงเลือกตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ เช่น ทุก ปีจะมีการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ
        3.รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพมูลฐานของประชาชน เช่น สิทธิเสรีภาพในทรัพย์สินและการแสดงความคิดเห็นการรวมกลุ่ม เป็นต้นโดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นของชาติหรือเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นธรรมแก่สังคมเท่านั้น
        4.ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน
        5.รัฐบาลถือกฎหมาย และความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆเพื่อความสงบสุขของประชาชน
ระบอบเผด็จการ
        ระบอบเผด็จการคือระบอบการเมืองการปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตกลงใจถูกจำกัดอยู่ในบุคคลเพียงคนเดียวหรือสองสามคน กล่าวคือจะใช้โอกาสในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆโดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน หากประชาชนคัดค้านก็จะถูกผู้นำหรือคณะบุคคลลงโทษ

หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดังนี้
        1)ผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครองสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
        2)การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
        3)ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิตตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
        4)รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภาไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือรัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง

ระบอบเผด็จการมี แบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์และเผด็จการคอมมิวนิสต์