วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รัฐประหารและกบฏในประเทศไทย

           กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2455) โดย คณะ 130 นำโดย ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์)
           การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดย คณะราษฎร เพื่อให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
 รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
 กบฏบวรเดช 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
 กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 โดย สิบเอกสวัสดิ์ มะหะมัด เป็นหัวหน้า
 กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ พ.ศ. 2481 (29 มกราคม พ.ศ. 2482) มี พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นหัวหน้า
 รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
 รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
 กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล หรือ กบฏ 1 ตุลาคม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2491) โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้า
 กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดย นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า
 กบฏแมนฮัตตัน หรือ กบฏทหารเรือ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2494) โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา
 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
 รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
 รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
 กบฏ พ.ศ. 2507 โดย พลอากาศเอกนักรบ บิณศรี เป็นหัวหน้า
 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
 รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
 กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 (26 มีนาคม พ.ศ. 2520) โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า
 รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
 กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ. 2524) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า
 กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา (9 กันยายน พ.ศ. 2528) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า
 รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
 รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
การลุกฮือของประชาชน การต่อต้าน การชุมนุมทางการเมือง
          กบฏสันติภาพ พ.ศ. 2495 (ไม่มีผู้เสียชีวิต)
 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ "วันมหาวิปโยค" (มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก)
 เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 (มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 41 ศพ บาดเจ็บและสูญหายอีกจำนวนมาก)
 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน)
 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 (ผู้เสียชีวิต 8 ศพ บาดเจ็บ 381 คน)
 เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือ "สงกรานต์เลือด" (ผู้เสียชีวิต 2 ศพ บาดเจ็บ 120 คน)
 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 หรือ "พฤษภาอำมหิต" (ผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,100 คน)
การปกครองที่ผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง
           คำว่า  การเมือง  (Politics)  และคำว่า  การปกครอง  (Government)  มีความหมายในทางรัฐศาสตร์แตกต่างกัน  “การเมืองหมายถึง  เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันเพื่อหรือการแสวงหาอำนาจซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสังคม หรือภาพโดยส่วนใหญ่ของสังคม  ส่วน  “การปกครอง”  หมายถึง  เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการวางระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับสังคมเพื่อให้สังคมมีความปกติสุข การปกครองยังมีความหมายอย่างอื่นอีกเช่น  การปกครองได้แก่การปฏิบัติการทั้งหลายทั้งปวงของเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของรัฐโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้อยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบและมีผลประโยชน์จากการอยู่ในรัฐนั้นๆเช่น  การปฏิบัติ งานต่างๆ ของคณะรัฐมนตรี การออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ การที่ตำรวจจับผู้ร้าย แพทย์ประจำตำบลไปตรวจคนไข้  หรือครูพานักเรียนไปทัศนะศึกษานอกสถานที่  เหล่านี้ถือว่าเป็นการปกครองโดยทั้งสิ้นบางครั้งเราอาจเรียกสิ่งเดียวกันนี้ว่าการบริหาร  หรือรัฐบาล  ซึ่งหมายถึง คนหรือองค์กรต่างๆ ของรัฐบาลทั้งหมด  ตามปกติแล้วคนทั่วไปจะเข้าใจว่ารัฐบาล คือ ฝ่ายบริหารเท่านั้น  และการปกครองก็คือการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหารนั่นเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดและสับสนกับคำว่า คณะรัฐมนตรีซึ่งได้แก่ คณะบุคคลในระดับสูงของฝ่ายบริหารโดยประกอบด้วยหัวหน้าสูงสุดของกระทรวงต่างๆ กับนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ในภาษาอังกฤษการปกครองและรัฐบาลมักจะใช้คำๆเดียวกัน  คือ คำว่า Government  ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมาก  คำนี้รวมถึง การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร  ตุลาการและข้าราชการดังกล่าวทั้งหมด อย่างไรก็ดีการเมืองและการปกครองก็มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันเพราะการปกครองเป็นการบริหาร การวางระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อให้เกิดการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนนั้น  จำเป็นต้องอาศัยอำนาจ จึงจะทำให้การปกครองสามารถดำเนินงานได้  ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองจึงน่าจะหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับองค์กรต่างๆ ทางการเมืองที่มีและใช้อำนาจของรัฐ และรวมไปถึงการใช้กลไกของรัฐมาสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ในการบริหารเพื่อให้ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข  ดังนั้นรัฐหรือผู้ปกครองประเทศจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานด้านการปกครอง โดยมุ่นเน้นที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวมและในเรื่องการปกครอง มีอีกเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาควรให้ความสนใจคือเรื่องความเป็นพลเมือง เพราะการปกครองจะประกอบไปด้วยกลุ่มคนจำนวนสองกลุ่ม คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองกับผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองหรือประชาชนหรือพลเมืองนั่นเอง  เมื่อเรารู้ว่าใครทำหน้าที่ปกครองเราควรรู้ว่าตัวพลเมืองในฐานะเจ้าของประเทศคือใคร
                การปกครอง หมายถึง  การใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครอง หมายถึง การใช้Paperback Dictionary and Thesaurus 
การปกครอง หมายถึง ลักษณะท่าทางหรือระบบในการปกครองการปกครอง อาจหมายถึง องค์หรือคณะบุคคลและสถาบันที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสังคม
             การปกครอง หมายถึง กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่ได้รับการหนุนหลัง   โดยการใช้อำนาจที่มีผลบังคับใช้ อย่างเป็นทางการ  ซึ่งจะเป็นอำนาจที่ทำให้เกิดการจัดระเบียบเพื่อสร้างหลัก ประกันว่า การนำนโยบายที่มีอยู่มาปฏิบัติได้ผล

จากความหมายของคำว่า การปกครองดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอสรุปว่า การปกครอง หมายถึง  คณะบุคคล    หรือสถาบันใช้อำนาจอธิปไตยอันได้แก่ การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร  ตุลาการเพื่อทำกิจกรรมทางการเมืองบริหารและจัดการประเทศให้เกิดความปกติสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น